แชร์

สัปดาห์ที่ 30 ของการตั้งครรภ์: The 30th Week of Pregnancy

42 ผู้เข้าชม

สัปดาห์ที่ 30 แล้วนะคะคุณแม่ ตอนนี้เดือนที่ 7 ของการตั้งครรภ์แล้ว อีกแค่ 2 เดือน คุณแม่ก็จะได้เจอเจ้าตัวเล็กของคุณแม่แล้วนะคะ สัปดาห์นี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

 

Highlights

  • สมองของลูกพัฒนามากขึ้น ตอนนี้เค้าก็เริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวลูกค่ะ
  • ขนอ่อน หรือ Lanugo ที่ปกคลุมตัวลูก ตอนนี้เริ่มค่อยๆ หลุดร่วงนะคะ
  • ผมของลูกค่อยๆ ยาวขึ้น
  • ท้องของคุณแม่โตขึ้น อาจดันสะดือให้ Pop Up ออกมาได้ค่ะ


สัปดาห์นี้ลูกเป็นอย่างไร?

สัปดาห์นี้ลูกมีขนาดยาวประมาณ 16 นิ้ว ขนาดเท่าผลบีตรูต น้ำหนักตอนนี้ได้ 1,600 กรัมแล้วค่ะ นอกจากลูกจะตัวโตขึ้นแล้ว ตอนนี้เค้าก็มีพัฒนาการด้านอื่นๆ เช่นกันค่ะ

  • สมอง : สัปดาห์นี้สมองของลูกจะเพิ่มรอยหยักมากขึ้น เป็นการเพิ่มพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลของสมอง
  • ผิว : ผิวของลูก ได้มีการสร้าง melanocyte ที่จะบ่งบอกสีผิวในอนาตค แต่จะยังดูไม่ออกชัดเจนนะคะ ผิวของลูกจะไปชัดเจนที่ 6 เดือนหลังคลอดค่ะ
  • เส้นขน : สัปดาห์นี้ Lanugo หรือขนอ่อนที่เคยปกคลุมตัวลูก เริ่มค่อยๆ หลุดร่วงไปค่ะ ซึ่งขนอ่อนนี้จะหลุดร่วงไปเกือบหมดในช่วงก่อนคลอดค่ะ
  • การมองเห็น: ตอนนี้ม่านตาของลูก มีการขยาย และหด ตอบสนองต่อแสง เป็นพัฒนาการหนึ่งที่เป็น reflex สำคัญจากสมองของลูกน้อย



อาการของคุณแม่ในสัปดาห์ที่ 30

ไตรมาสที่ 3 คุณแม่อาจจะมีอาการอื่นๆ ที่ต้องติดตามนะคะ

สะดืออาจ Pop up ออกมา

ท้องที่โตขึ้นของคุณแม่ อาจทำให้สะดือ pop up ออกมาทางด้านนอก คุณแม่อาจรู้สึก sensitive เวลาสัมผัสได้ ซึ่งสะดือของคุณแม่จะกลับเป็นปกติในช่วงหลังคลอดค่ะ ในเคสที่หายาก ถ้าคุณแม่มีภาวะ umbilical hernia หรือ การที่ลำไส้ผ่านชั้นกล้ามเนื้อหน้าท้องมาอยู่บริเวณสะดือ ถ้าลำไส้มีอาการขาดเลือด อาจมีอาการปวดและเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรีบไปพบแพทย์

Brown discharge

ในช่วงนี้บางมดลูกจะมีความบอบบางมาก ทำให้อาจทำให้มีเลือดสีน้ำตาลออกมาหลังมีเพศสัมพันธ์หรือหลังการตรวจภายในได้ ซึ่งเป็นอาการปกติ

อาการอ่อนเพลีย

ในช่วงสัปดาห์นี้ คุณแม่อาจเริ่มมีอาการอ่อนเพลียคล้ายกับในช่วงไตรมาสที่ 1 ค่ะ สาเหตุมากจากการที่แม่ต้องใช้พลังงานในการเจริญเติบโตของลูก แต่ด้วยความที่ท้องใหญ่ขึ้น ทานเยอะๆ ลำบาก ทำให้คุณแม่ยิ่งมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น การที่ต้องแบกท้องหนักๆ การนอนหลับไม่สนิท ภาวะซีด ภาวะขาดโปรตีน ก็ทำให้คุณแม่มีอาการอ่อนเพลียได้เช่นกันค่ะ

 

เกร็ดน่ารู้สัปดาห์นี้

  • เพื่อลดอาการอ่อนเพลีย คุณแม่ควรทานสารอาหารให้เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มโปรตีน ไขมันดี และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน นอนพักให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • คุณแม่อาจเริ่มจัดห้อง หรือวางแผนการนอนของตัวเล็กได้แล้วค่ะ โดยควรเตรียมที่นอนให้ลูกให้เหมาะสม
  • แนะนำให้ฉีดวัคซีน Tdap ในช่วงตั้งครรภ์ 27-36 สัปดาห์ หรืออย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนคลอด เพื่อให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันส่งไปให้ทารกในครรภ์ได้ทันก่อนคลอด (อ่านเพิ่มเติมเรื่อง การฉีดวัคซีนช่วงตั้งครรภ์)

 

ผ่านไปแล้ว 30 สัปดาห์ สัปดาห์นี้คุณแม่อาการเป็นยังไงบ้าง มาเล่าให้หมอหน่อยฟังบ้างนะคะ แล้วมาติดตามกันใหม่ในสัปดาห์ที่ 31 ค่ะ

 

รักในฉบับแม่

 

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
คุณพ่อมือใหม่ เตรียมตัวยังไง ต้องทำอะไรบ้าง?
การเป็นคุณพ่อมือใหม่ไม่ใช่แค่เรื่องของความรับผิดชอบ แต่คือการเติบโตครั้งใหม่ของหัวใจ เพราะบทบาทของพ่อเริ่มต้นตั้งแต่วันที่รู้ว่ากำลังจะมีลูก ไม่ใช่แค่หลังคลอด
สัปดาห์ที่ 29 ของการตั้งครรภ์: The 29th Week of Pregnancy
สัปดาห์ที่ 29 แล้วนะคะคุณแม่ ไตรมาสที่ 3 เป็นไตรมาสสำคัญที่ทั้งคุณลูกและคุณแม่ มีการเติบโตไปพร้อมๆ กัน ในสัปดาห์นี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? ไปติดตามกันค่ะ
สัปดาห์ที่ 28 ของการตั้งครรภ์: The 28th Week of Pregnancy
ยินดีต้อนรับคุณแม่เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 หรือไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้วค่ะ อีกไม่นานคุณแม่จะได้เจอเจ้าตัวเล็กแล้วนะคะ สัปดาห์นี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไปติดตามกันค่ะ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy